วันอังคารที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ขั้นตอนการลง Windows 10

การติดตั้ง Windows 10

ทำการเอาแผ่น DVD Windows 10 หรือ USB Flash Drive เสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์
สามารถตั้ง Boot ได้จากการกดปุ่ม “delete” บน keyboard ของเรา หรือทำการกด F2 / F10 / F12  เพื่อทำการตั้งค่าการ Boot ใน BIOS ได้ โดยการเข้า BIOS นั้นให้ดูตอน Boot ว่าคอมพิวเตอร์จะให้กดปุ่มอะไรบน Keyboard โดยเมื่อเข้าใน BIOS ให้หาเมนู Boot จากนั้นให้ปรับว่าเราจะให้ USB หรือ DVD เป็นการ Boot อันดับแรก

          โดยถ้าลงแบบใช้แผ่น Windows 10 ก็ให้เลือก Boot DVD เป็นอันดับแรก แต่ถ้าลงแบบ USB ก็ให้ทำการเลือก Boot แบบ USB เป็นอันดับแรก และทำการ Save ค่า คอมพิวเตอร์จะ Restart ตัวเอง
          สำหรับคนที่ไม่อยากเข้า BIOS ให้เราทำการกด F6 F8 F9 F12 / F10 บน Keyboard แต่ละคอมพิวเตอร์ไม่เหมือนกัน เพื่อเข้าไปปรับที่ Boot Menu ในการ Boot ได้เลย 

ภาพด้านล่างเป็นการปรับ BIOS โดยถ้าต้องการให้ ให้ Boot USB ก็ให้ทำการเลื่อน USB ขึ้นมาบนสุด แต่ถ้าจะให้ CD/DVD Boot ก็ให้เลื่อนให้ขึ้นมาบนสุด โดยการกด +/- ในการ เลื่อนขึ้นลง ”

SET BIOS COMPUTER

สำหรับ Windows 10 
แนะนำให้ปรับ Mode SATA Operation : ให้เป็น AHCI


AHCI (Advanced Host Controller Interface ) this is a hardware mechanism that allows the software to communicate with Serial ATA (SATA) devices.
โดย AHCI เป็น ฮาร์ดแวร์ที่ควบคุมกลไกการทำงาน ระหว่างซอฟต์แวร์กับ SATA
AHCI Mode HDD
1. จากนั้นถ้าเห็นข้อความว่า “Press any key to boot CD or DVD” ให้ทำการกด Enter
2.  จากนั้นจะเข้าสู่หน้า ตอนรับของ Windows 10
install-Windows 10-1
3. ในหน้า Windows Setup
Language to install : เลือก English (United States)
Time and currency format : เลือก English (United States)
Keyboard or input Method : เลือก US
install-Windows 10-2
4. กด Install Now เพื่อทำการติดตั้ง
install-Windows 10-3
5. เลือก (/) I accept the license terms  และทำการกด Next
install-Windows 10-4
6.  ให้ทำการเลือก Custom : Install Windows only (Advance)
install-Windows 10-5
7.  สำคัญ ตรงนี้มี 2 กรณี
กรณีซื้อคอมพิวเตอร์มาใหม่
สำหรับใครที่ซื้อคอมพิวเตอร์มาใหม่และยังไม่ได้ทำการสร้างพาติชั่นของ Windows ให้ทำการกด New
install-Windows 10-6
จากนั้นให้ใส่ขนาดของพื้นที่ Drive C แนะนำให้ใส่ 102400 MB หรือเท่ากับ 100 GB นั้นเอง และทำการกด Apply และทำการสร้าง Drive D โดยใช้พื้นที่ที่เหลือ และทำการคลิกไปที่ Drive ที่เราแบ่งไว้ให้สำหรับ OS และทำการกด  Next
install-Windows 10-7
กรณีเคยลง Windows อยู่แล้ว แต่จะลง Windows 10 เพื่อใช้ใหม่
Advertisements
ให้ทำการกดไปที่ drive ของ OS ที่เราเคยลง Windows มาแล้ว จากนั้นกด drive option (Advance) และทำการกด Format   > ทำการยืนยันโดยกด OK เพื่อเป็นการ format Drive C และทำการเลือกไปที่ Drive ที่เรา format เมื่อกี้และทำการกด OK (ให้ดูดีๆนะครับ ว่า Drive ไหนเป็น Drive C ของเรา อาจจะดูจากขนาดของพื้นที่ Harddisk หรือจะทำ Label ของ Disk ไว้ก่อนการ Format เราจะได้ Format ไม่ผิด)
install-Windows 10-8
8. รอทำการติดตั้งของ Windows 10
install-Windows 10-9
9. หลังจากคอมพิวเตอร์ลง Windows 10 เสร็จแล้ว คอมพิวเตอร์จะทำการ Restart ตัวเองอัตโนมัติ และเข้าสู่หน้า Settings  (สำหรับคนที่ใช้ USB ในการติดตั้งให้ดึง USB ออกได้เลยหลังจาก Restart ในข้อ8)
ทำการกรอกใส่ License Windows 10 ของเราให้ตรงกับ Editions ที่เราได้ทำการลง Windows 10
ถ้ายังไม่มี Key ให้กด Do this later
install-Windows10-8
10. ให้ทำการเลือก Use Express Settings
install-Windows10-9
11. สำหรับถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ลงที่บ้านให้ทำการเลือก I own it
install-Windows10-10
10. สำหรับใครที่ต้องการ Sign in ด้วย Microsoft Account เช่น  ABC@hotmail.com หรือ ABC@outlook.com ก็ให้ทำการใส่ Email ลงไปในช่องว่าง
แต่วันนี้ผมจะมาสอนวิธีการสร้าง Account Local  โดยให้กด Skip this step ไปก่อน
install-Windows10-11
11. เลือก Your Account
User name : ใส่ชื่อที่ต้องการ
Password : ใส่ Password ที่เราต้องการ
Reenter Password : ยืนยัน Password อีกครั้ง
Password hint : ใส่ Password อันนี้กรณีลืม Password ด้านบน
install-Windows10-12
14. จากนั้นเราก็จะได้หน้า Windows 10 พร้อมใช้งานแล้วครับ
Windows10-Start Menu

15. ทำการลง Drives ที่เราเราได้ทำการเตรียมเอาไว้ อาทิเช่น Drive LAN , Wireless , VGA โดยลงให้ครบนะครับ ไม่งั้นจะไม่สามารถใช้ Network ในการออกอินเตอร์เน็ทได้นั่นเอง
อัพเดต 12/04/2017 :  สำหรับคนที่ ทำการลง Windows 10 Creator 
Microsoft มีการเพิ่มขั้นตอนในการ configure เพิ่มมากขึ้นเล็กน้อยครับ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะทำไม่ได้
หลังจากขั้นตอนที่ 8 ของการลง Windows 10 เราก็จะลงเหมือนกัน  (ขั้นตอนที่ 1-8 ทำเหมือนเดิม)
9. เข้าสู่หน้าตอนรับ
Windows 10 Creator-7
10. เลือก Region ให้เลือก United States หรือใครจะเลือก Thai ก็ได้นะครับ
ผมแนะนำ US มากกว่า
Windows 10 Creator-8
11. ทำการเลือก US เป็น Keyboard ของ Windows 10 และทำการกด yes
Windows 10 Creator-9
12. กด Skip ไปก่อน ภาษาไทยเรามีเพิ่มทีหลังได้
Windows 10 Creator-10
13. ให้ทำการเลือก Domain join instead เพื่อทำการสร้าง Local account ในการ Login Windows 10
Windows 10 Creator-11
14. ทำการสร้างชื่อ Users ที่เราต้องการใช้งาน
Windows 10 Creator-12
15. กำหนดรหัสผ่านของการเข้า Account ด้านบนก่อนหน้านี้
ถ้าไม่ใส่ให้กด Next ได้เลย
Windows 10 Creator-13
16. กด Yes
Windows 10 Creator-14
17. เลือก Accept ได้เลย
Windows 10 Creator-15
18. เข้าสู้หน้า Windows 10 เรียบร้อย
19.  ทำการลง Drives ที่เราเราได้ทำการเตรียมเอาไว้ อาทิเช่น Drive LAN , Wireless , VGA โดยลงให้ครบนะครับ ไม่งั้นจะไม่สามารถใช้ Network ในการออกอินเตอร์เน็ทได้นั่นเอง แต่สำหรับ Windows 10 กับคอมพิวเตอร์ใหม่ๆส่วนมาก Windows จะทำการลง Drivers มาให้เลย ยกเว้น VGA ทำการดาวน์โหลดและติดตั้งลงเพิ่มละกันนะ


สามารถลงได้เองแต่กระบวนการต่างๆมักขึ้นอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณอีกด้วย